การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาสซึม
อะมีบาไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่โดยเฉพาะ
แต่จะเคลื่อนที่โดยการหลของไซโทพลาสซึมเป็นเท้าเทียม (pseudopodium) ไซโทพลาสซึมในอะมีบา แบ่งเป็น
2 ส่วน
คือ
1. เอ็กโทพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล
2. เอนโดพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นในมีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกว่า โซล เนื่องจากการรวมตัวและแยกตัวของโปรตีนแอกทีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไมโครฟิลาเมนต์ (สายใยเล็กๆมีมากมายอยู่ในไซโทพลาสซึม) ทำให้สมบัติของไซโทพลาสซึมเปลี่ยนจากเจลเป็นโซลและจากโซลเป็นเจล จึงเกิดการไหลของไซโทพลาสซึมไปในทิศทางที่เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบาเคลื่อนที่ได้ เรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement)
1. เอ็กโทพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล
2. เอนโดพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นในมีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกว่า โซล เนื่องจากการรวมตัวและแยกตัวของโปรตีนแอกทีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไมโครฟิลาเมนต์ (สายใยเล็กๆมีมากมายอยู่ในไซโทพลาสซึม) ทำให้สมบัติของไซโทพลาสซึมเปลี่ยนจากเจลเป็นโซลและจากโซลเป็นเจล จึงเกิดการไหลของไซโทพลาสซึมไปในทิศทางที่เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบาเคลื่อนที่ได้ เรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement)
แฟลลเจลลัม
มีลักษณะเป็นเส้นยาวและมีจำนวนเพียง
1 หรือ 2
เส้นเท่านั้น
แต่บางชนิดอาจจะมีจำนวนมากได้
ส่วนซีเลียมีลักษณะเป็นขนเล็กๆสั้นๆและมักมีจำนวนมาก แฟลเจลลัมจะยาวกว่าซีเลียถึง 20 เท่า ในสัตว์ชั้นสูงก็มีซีเลีย แต่มักจะเป็นเซลล์ที่เยื่อบุของระบบหายใจ ท่อนำไข่
ฯลฯ
โดยช่วยโบกพัดให้สารบางอย่างเคลื่อนที่ไปได้
พารามีเซียมเคลื่อนที่โดยการโบกพัดของซีเลียไปทางด้านหลัง
ทำให้ตัวของพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
จากการโบกพักของซีเลียทำให้ตัวของพารามีเซียมหมุนไปด้วย เนื่องจากไม่มีอวัยวะคอยปรับสมดุล
และเนื่องจากซีเลียที่ร่องปากซึ่งมีจำนวนมากกว่าโบกพัดแรงกว่าบริเวณอื่นจึงทำให้หมุน แบคทีเรีย
ยูกลีนา พารามีเซียม ไม่มีกล้ามเนื้อแต่อาศัยโครงสร้างที่เรียกว่า ซีเลีย
(cilia) หรือ
แฟลเจลลัม (flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่
จากการศึกษาภาคตัดตามขวางของแฟลเจลลัมและซีเลียภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะพบว่าส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1.ไมโครทิวบูล
เป็นหลอดเส้นเล็กๆซึ่งประกอบด้วยโปรตีน
เรียกว่า ทิวบูลิน ไมโครทิวบูล
เรียงตัวเป็นวง 9
กลุ่มๆละ 2 หลอด ตรงแกนกลางมี
2 หลอด
ไมโครทิวบูลถูกล้องรอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์
ระหว่างไมโครทิวบูลที่เรียงเป็นวงจะมีโปรตีนที่เรียกว่า ไดนีน
เป็นเสมือนแขนที่เกาะกับไมโครทิวบูล
เรียกว่า ไดนีนอาร์ม
ทำให้แฟลเจลลัมหรือซีเลียโค้งงอและสามารถพัดโบกได้ (มีโครงสร้างเป็นแบบ 9+2)
2.เบซอลบอดี
หรือไคนีโทโซม เป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไปในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นฐาน
แฟลเจลลัมหรือซีเลีย (มีโครงสร้างเป็นแบบ 9+0)
จากการทดลองพบว่าถ้าตัดเอาเบซอลบอดีออกจะมีผลทำให้แฟลเจลลัมหรือซีเลียนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น