การเคลื่อนที่ของไส้เดือน
ไส้เดือน (earth
worm) ไส้เดือนจัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิตา (annelida) ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ
กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว (circular
muscle) อยู่ทางด้านนอก
และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal
muscle) ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน
นอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือย (setae) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกจากลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย
ขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่ ไส้เดือนจะใช้เดือยจิกดินไว้
และกล้ามเนื้อวงกลมหดตัวส่วนกล้ามเนื้อตามยาว คลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก
เมื่อสุดแล้ว ส่วนหน้า คือ
ปล้องแรกของไส้เดือนกับเดือยจะจิกดินแล้วกล้ามเนื้อวงกลมคลายตัว
กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ดึงส่วนท้ายของลำตังเคลื่อนมาข้างหน้า
การเคลื่อนที่ของไส้เดือนเกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลม
และกล้ามเนื้อตามยาว หดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลัง
ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า
การเคลื่อนที่ของหนอนตัวกลม
พวกหนอนตัวกลม (round
worm) จัดอยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (nematoda) เช่น เนมาโทด (nematode)
พยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย
หนอนในน้ำส้มสายชู สัตว์กลุ่มนี้จะมีกล้ามเนื้อเรียงตามความยาวของลำตัว(longitudinal muscle) เท่านั้น การเคลื่อนที่ก็อาศัยการหดตัว
คลายตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดลักษณะส่ายไปส่ายมา
แต่ก็เคลื่อนที่ไปได้
การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
พลานาเรีย (planaria)
พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบน
ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส(platyhelminthes)
อาศัยอยู่ในน้ำ
พลานาเรียมีกล้ามเนื้อ 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อวง (circular muscle) อยู่ทางด้านนอก กล้ามเนื้อตามยาว(longitudinal muscle) อยู่ทางด้านใน และกล้ามเนื้อทแยง(oblique muscle) ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและว่าวล่างขิงลำตัวพลานาเรียเคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำหรือคืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้กล้ามเนื้อลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำ
ในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำซิเลีย
ที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยให้เลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น
การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน
แมงกะพรุน (jelly
fish) แมงกะพรุนมีรูปร่างเหมือนร่ม
เป็นสัตว์ที่มีลำตัวนิ่มมาก มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุน
จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราตา (coelenterate)
เคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณขอบร่มและผนังลำตัวทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออกมา
การหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น